First time in the Bangladesh

บังคลาเทศ ตอน"ร่วมสร้างสรรค์ประตูทอง "

ท่าเรือพาณิชย์เปรียบเสมือนประตูทอง  เนื่องจากเป็นทางผ่านของการนำเข้าและส่งออกสินค้าที่สำคัญของแต่ละประเทศ   ช่วงนี้*มีโอกาสได้มาทำโปรเจ็คสำคัญร่วมกับชาวบังคลาเทศ จึงอยากเล่าสู่กันฟังและเก็บภาพบางส่วนมาฝาก


* เนื่องจากเป็นเรื่องเล่าเก่าๆ ... คำว่าช่วงนี้ก็จะหมายถึง กันยายน  2005  





  • การเดินทาง:    การเดินทางก็บินตรงจากสนามบินดอนเมือง (เมื่อ 8 ปีกว่าที่แล้วสนามบินหนองงูเห่ายังสร้างไม่เสร็จ)  ไปลงที่สนามบินเมืองจิตตะกอง (Shah Amanat International Airport) โดยสายการบินไทย ( Thai Airway  )





  • ลักษณะงานที่รับผิดชอบ

    หลังเสร็จสิ้นการอบรมจากบริษัทมิตซูบิชิ ที่เมืองฮิโรซิม่า ช่วงต้นเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2005 ที่ผ่านมา   จากนั้นก็เดินทางมาทำงานที่บังคลาเทศ  ที่ท่าเรือเมืองจิตตะกอง (Chittagong Port )   ซึ่งเป็นจ้าของโปรเจ็ค   ในตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้าอาวุโส (Sr. Electrical Engineer)  โดยทำหน้าที่ดูแลระบบไฟฟ้าและระบบควบคุมเครนยกตู้สินค้า

   สโคปงานของโปรเจ็คนี้ก็เริ่มตั้งแต่การติดต่อประสานงานและดูแลทีมทำงานเพื่อทำร่วมกับตัวแทนเจ้าของเครื่องจักรในการติดตั้ง (Installation) , Commissioning  , Endurance  Testing   และอื่นๆ  รวมถึงงานซ่อมบำรุงระบบ (Maintenance) ซึ่งทางบริษัทที่ผมสังกัดอยู่ได้รับการว่าจ้างให้ดูแลระบบจากทางการท่าเรือจิตตะกอง

      โปรเจ็คนี้เป็นถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวบังคลาเทศ ที่มีจะได้มีโอกาสใช้เครนมาตรฐานในการยกตู้สินค้าขึ้นลงจากเรือ    เนื่องจากเป็นเครนล๊อตแรกหรือชุดแรกที่มีซื้อและนำเข้ามาติดตั้งเพื่ออำนวยความสะดวกในงานขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์จากเรือสินค้าในท่าเทียบเรือเอนกประสงค์ ( Multipurpose berth) ของท่าเรือจิตตะกองและถือว่าเป็นล๊อตแรกของประเทศบังคลาเทศด้วย..



  • เรืองทั่วไปเกี่ยวกับเมืองจิตตะกอง
     
ลักษณะของท่าเรือเมืองจิตตะกอง ก็จะคล้ายๆกับท่าเรือคลองเตยที่กรุงเทพของไทยเรา กล่าวคือจะตั้งตั้งอยู่ริมแม่น้ำสายหลักไหลผ่านกลางตัวเมือง    ซึ่งระบบเดิมๆของท่าเรื่อแห่งนี้จะไม่มีเครนแบบนี้มาก่อน แต่จะใช้เครนที่ติดมากับเรือสินค้าเป็นเครื่องมือในจับตู้สินค้า ซึ่งกว่าจะ  Load หรือ Unload  หมดทั้งลำเรือก็ใช้เวลานานโขพอสมควร   ซึ่งจะแตกต่างกับเครนประเภทนี้ซึ่งสามารถยกตู้ได้ 20-30 ตู้ต่อชั่วโมง

     เมืองจิตตะกอง (ชื่อดูคล้ายๆกับภาษาพม่า)  ถือเป็นเมืองท่าที่สำคัญทางเศรฐกิจของบังคลาเทศ ตั้งอยู่ตอนใต้ของประเทศและอยู่ใกล้กับปากอ่าวเบงกอล (Bengal Bay)  ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของเมืองจะตั้งขนานกับแม่น้ำคาร์นาฟูลีที่ไหลผ่านตัวเมือง (คล้ายๆกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านกรุงเทพฯ)  โดยสินค้าที่ขนส่งมาที่นี่จะถูกกระจายต่อไปยังผู้บริโภคในบังคลาเทศและเพื่อนบ้านอื่นๆเช่น ภูฏาน เนปาล และบริเวณรอบซึ่งเป็นรัฐต่างๆของอินที่อยู่รอบๆประเทศบังกลาเทศ


  • ขั้นตอนการทำงาน

15 กันยายน 2005  เครนเดินทางมาจากเมืองฮิโรชิม่าและมาถึงปากแม่น้ำเมืองจิตตะกอง   ผมและทีมงานนั่งเรือออกไปนำร่องเข้าฝั่ง


ลูกทีม (ในกรอบสีแดง) พร้อมทั้งแขกมุง มารอให้การต้อนรับ เครนชุดแรกที่จะมาถึงบังคลาเทศ


เครนมาถึงฝั่งและเที่ยบท่ารอการ  Discharge 

เมื่อน้ำขึ้นได้ระดับ (สูงกว่าฝั่งบกนิดหน่อย)  ก็ทำการดึงเครนขึ้นฝั่ง

พาดรางต่อจากเรือและรอจังน้ำขึ้น เพื่อระดับเรือบรรทุกเครนสูงกว่าระดับของท่าเรือจากนั้นก็ค่อยๆดึงเครนให้เคลื่อนที่มาตามราง 





ซาไก ซัง .... Supervisor  ฝั่งซัพพลายเออร์ ผู้ซึ่งคล่ำหวอดอยู่ในวงการเครนมาอย่างยาวนานและเป็นผู้ควบคุมการเกมส์ทั้งหมดของโปรเจ็คนี้ 


ขึ้นฝั่งมาได้แล้ว 1 ตัว   ที่เหลือรอคิว


 ***  การเอาเครนชุดขึ้นจากเรือ (discharge) จะใช้วิธีแบบเก่า  โดยการประกอบรางเครนพาดต่อจากเรือเข้าหาฝั่ง และรอจังหวะช่วงน้ำขึ้น-น้ำลง เพื่อการดึงเครนขึ้นฝั่ง ซึ่งจะใช้เวลานานกว่าทั่วๆไป

เครนขึ้นฝั่งหมดเรียบร้อย  ....บาร์จ (Barge) ที่บรรทุกเครนมาก็เหลือแต่ความว่างเปล่า 

      เมื่อเครนขึ้นฝั่งหมดเรียบร้อย จากนั้นก็เป็นการประกอบองค์ประกอบอื่นๆเข้ากับโครงสร้างหลัก พร้อมกับทำการ Commissioning  และทำ  Endurance  Test  และส่งมอบโปรเจ็คให้กับการท่าเรือจิตตะกอง ซึ่งเป็นเจ้าของโปรเจ็คนี้ 

รอการเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ

เพื่อนร่วมงาน แถวหลัง 3 คน เป็นวิศวกรท้องถิ่นชาวบังคลาเทศ   ขวาสุดแขกผู้มาเยือน  คนกลางวิศวกรเครื่องกลชาวญี่ปุ่นตัวแทนจาก Mitsubishi  heavy equipment   ส่วนด้านซ้ายคือคนไกลบ้าน  
วิศกรท้องถิ่นที่ดูแลงานด้านโยธา

ลูกทีม ที่เป็นช่างเทคนิคและแรงงานท้องถิ่น

และหลังจากส่งมอบโปรเจ็คเป็นที่เรียบร้อย  จากนั้นก็เป็นพิธีการเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ โดยรัฐมนตรีผู้ซึ่งกำกับดูแลการท่าเรือ ( รัฐมนตรี ภาษาบังคลาเทศจะเรียกคล้ายกับเราโดยเรียกว่า  มนตรี )



พิธีสรุปและกล่าวรายงานโปรเจ็คต่อรัฐมนตรี 

รัฐมนตรี เป็นประธาน (ชุดขาว)
แขกผู้ทรงเกียรติ และ อื่นๆ 

รัฐมนตรีเดินทาไปตัดริบบิ้น 


รัฐมนตรี (Civil Minister ) ทำการตัดริบบิ้นเปิดงาน

ตัดริบบิ้นเสร็จ สวดมนต์ขอพรและขอบคุณพระเจ้า

แสดงการยกตู้สินค้าเพื่อเป็นปฐมกฤษ์ 

รัฐมนตรีให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ตามธรรมเนียมปฏิบัติ


ผม...ผู้อยู่เบื้องหลังการถ่ายทำทางด้านเทคนิค 

เพื่อนร่วมงาน  5 วิศวกรท้องถิ่น




จบตอนที่ 1  โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ









  • เป็นกำลังใจและเป็นแฟนเพจบนเฟซบุ๊กกด LIKE ที่นี่=> https://www.facebook.com/realtigerwalker
  • No comments:

    Post a Comment